ภาพทิวทัศน์ย่านชานเมืองของไทยมักจะเผยให้เห็นบ้านเรือน และธรรมชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเรียบง่ายไม่ซับซ้อน (รวมถึงไม่เจริญในบางส่วน) การพัฒนาของความเป็นเมือง (Urbanism) ที่ก้าวกระโดดทำให้เกิดความเปลี่ยนไปอย่างมีนัยยะสำคัญต่อพื้นที่เดิม พวกมันเข้ามาฝังตัวและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนที่อยู่มาก่อนไม่ได้เห็นเพียงแต่ธรรมชาติและบ้านเรือนขนาดเล็กที่อยู่ร่วมกันง่าย ๆ อีกต่อไป สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่พาดทับพื้นที่ของพวกเขา มันนำมาซึ่งความเจริญในรูปแบบต่าง ๆ ที่พวกเขาเองก็ได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น แต่ในขณะเดียวกันมันก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต รวมทั้งกระทบต่อสิ่งรอบ ๆ ตัวที่อาจไม่ได้เรียบง่ายเหมือนดังแต่ก่อน และไม่มีทางย้อนกลับคืนมา
งานภาพถ่ายชุด Theatres -โรงมหรสพ (2019) คือการจับภาพทิวทัศน์ในย่านชานเมืองของกรุงเทพฯที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปโดยฝืมือของทุนยักษ์ใหญ่ที่กำลังกระจายความเจริญออกจากใจกลางเมืองหลวงอย่างต่อเนื่องยาวนาน ภาพทั้งหมดถ่ายในมุมมองของคนที่มองลอดผ่านใต้ทางด่วนขนาดใหญ่ ไปยังธรรมชาติรอบ ๆ และบ้านเรือนที่เหมือนอยู่ในกรอบของจอภาพยนตร์ของโรงมหรสพที่กำลังฉายภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ โดยมีบ้านเรือน พืชพันธุ์ธรรมชาติ และหนองน้ำเป็นตัวละครหลัก
งานชุดนี้อาจอ้างถึงแนวคิดของ New Topographics ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะภาพถ่าย ในช่วงยุค 70s ที่แสดงภาพถ่ายภูมิทัศน์ (Landscape Photograph) ของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยฝีมือของมนุษย์ด้วยสายตาและแนวคิดของการยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น New Topographic แสดงให้เห็นอย่างตรงไปตรงมาและเรียบเฉย (Deadpan) แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือเสียดสีแบบงานเชิงความคิด หรืองานภาพถ่ายสารคดีที่ขับเน้นอารมณ์ไม่ว่าจะจากมุมมองด้านภาพของเนื้อหาประกอบ หรือจะการหลบเลื่ยงไม่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเลย อย่างเช่นงานของกลุ่ม f/64 อย่าง Edward Weston และ Ansel Adams ที่ถ่ายภาพภูมิทัศน์ของอเมริกาที่ไร้การแตะต้องโดยความเจริญจากมนุษย์ที่ทำให้นึกย้อนถึงความรุ่งเรืองและความบริสุทธิ์ของธรรมชาติก่อนที่ความเปลี่ยนแปลงจะเข้ามาทำลาย
Theatres คงไม่ได้บอกว่าสิ่งใด ดี - ไม่ดี แต่แสดงให้เห็นอย่างเรียบเฉยตรงไปตรงมาแบบแนวทางของ New Topographics ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นมักไม่ได้มาจากปัจจัยเดียวแต่หากมีการเกื้อหนุนกันหลากหลายประการ การบริโภคและการได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น ที่ซับซ้อนไม่ต่างจากความเป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ
Thailand's suburban landscapes usually show houses and nature existing side by side in simple ways (though some areas remain underdeveloped). But as cities grow rapidly, these places have changed dramatically. Big developments now cover what used to be open land. People who lived here before no longer see just nature and small homes—now there are huge structures everywhere. While these changes bring modern conveniences, they also transform daily life and the environment in ways that can't be undone.
The photo series Theatres - โรงมหรสพ (2019) documents these changing suburban areas around Bangkok, shaped by big corporations expanding outward from the city center. All the photos were shot from beneath massive highways, framing the remaining nature and houses like scenes on a movie screen. In these images, ordinary homes, plants and ponds become the main characters.
This work connects to New Topographics, a 1970s photography movement that showed human-altered landscapes in a neutral, unsentimental way—neither praising nor criticizing the changes. New Topographics presents its subjects in a deadpan style, unlike emotional documentary photos or the romantic nature shots of photographers like Edward Weston and Ansel Adams, who made people long for America's untouched wilderness.
“Theatres” doesn't say whether these changes are good or bad. Like New Topographics, it simply shows what's happening. Nothing changes for just one reason—many factors work together to reshape these places. And just like life itself, the benefits and costs of these changes are complicated.